วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ


1.นาย ธนดล รักประสิทธิ์  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 7


2.นาย พัฒน์ ทวีพานิช  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 17 


3.นาย พุทธิชัย ไตรรัตนวนานนท์  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 27

Arcania Finisia Veronicas Alcatas

4.นาย กันต์ธีระ ณรงค์แสง  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 37


5.นาย วชิรวิทย์ อุดมเกษตรคีรี  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 47


6.นางสาว ปฐมพร ตันสุภาวุฒิ  ชั้น ม.4/4  เลขที่ 57












วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย




สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย 

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology) คือลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่ายซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้

1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป
โทโปโลยีแบบบัส



ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส 
 ข้อดี 1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
 2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
 ข้อเสีย 1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
 2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด 

2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป 
โทโปโลยีแบบวงแหวน
ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน 
ข้อดี 1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
 2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล 
ข้อเสีย 1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ 
และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
 2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา 

3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 
โทโปโลยีแบบดาว
ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว
ข้อดี 1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย
 2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
 3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม
ข้อเสีย 1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน

4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology) เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร 

โทโปโลยีแบบผสม

ที่มาhttp://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Networks%20Technology/network5.htm 

5.โทโปโลยีแบบตาข่าย  (Mesh Topology) เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงไม่ค่อยมีผู้นิยม 
โทโปโลยีแบบตาข่าย
ที่มา http://www.it.coj.go.th/topology.html 

แบบอ้างอิง OSI
    องค์การมาตรฐานนานาชาติ หรือเรียกว่า ( The International Organization for Standardization) และใช้อักษรย่อว่า “ISO” ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าย่อมาจาก “International Standard Organization”แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่  อย่างไรก็ตาม ISO  เป็นองค์กรที่ออกแบบโปรโตคอล ISO (Open System Interconnect)  หรือโปรโตคอลการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเปิดจุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานนี้  การจัดเรียงโปรโตคอลเป็นชั้นๆ  หรือเลเยร์นี้ก็เพื่อจำลองการไหลของข้อมูลจากเครื่องส่งถึงเครื่องรับ  แต่ละชั้นจะส่งข้อมูลไปยังชั้นที่อยู่ติดกัน  เช่น  ถ้าเป็นการส่งข้อมูล  ข้อมูลจะถูกส่งไปยังชั้นที่อยู่ต่ำว่าถัดลงไป  แต่ถ้าเป็นการรับข้อมูล  ข้อมูลก็จะส่งจากข้างล่างขึ้นข้างบน  แต่ละชั้นมีจะมีจุดเชื่อมต่อกับชั้นที่อยู่ใกล้เคียง  เพื่อให้การติดต่อสื่อสารสำเร็จได้ 
การติดต่อสื่อสารของแต่ละชั้นจะเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)  หมายความว่าโปรโตคอลชั้นที่อยู่ฝั่งส่งจะติดต่อกับโปรโตคอลชั้นเดียวกันที่อยู่ฝั่งรับ ข้อมูลที่อยู่ชั้นนี้จะมีความหมายเฉพาะกับโปรโตคอลที่อยู่ระดับเดียวกันของฝั่งตรงกันข้ามเท่านั้น ในปัจจุบันระบบเครือข่ายมีโปรโตคอลที่ใช้หลายประเภท ซึ่งพัฒนาโดยบางองค์กรหรือบางบริษัท  โครงสร้างของโปรโตคอลเหล่านี้ก็แบ่งเป็นชั้นๆ คล้ายกับแบบอ้างอิง  OSI  แต่อาจจะไม่เหมือนกันทุกเลเยอร์  บางชุดโปรโตคอลอาจแบ่งขั้นตอนการับส่งข้อมูลแค่  4-5  ชั้นเท่านั้น  แทนที่จะเป็น  7  ชั้นเหมือนแบบอ้างอิง OSI ซึ่งการทำงานแต่ละชั้นอาจไม่เหมือนของ  OSI  ทุกอย่าง  อย่างไรก็ตามแบบอ้างอิง  OSI  ก็ถือได้ว่าเป็นชุดโปรโตคอลที่เป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาโปรโตคอลชุดอื่นได้ดี ชุดโปรโตคอล  OSI  ประกอบด้วยโปรโตคอลมาตรฐานหลายโปรโตคอล  โปรโตคอลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนานาชาติเพื่อพัฒนาโปรโตคอลและมาตรฐานอื่นๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้อุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตจากบริษัทต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้
สรุปเกี่ยวกับโปรโตคอลเหล่านี้  ดังต่อไปนี้

1.ชั้นประยุกต์ (Application Layer)โปรโตคอลชั้นที่อยู่ในด้านบนสุดของแบบอ้างอิง  OSI  ก็คือชั้นประยุกต์  (Application Layer)  ถึงแม้ชื่อจะเป็นแอพพลิเคชั่นเลเยอร์แตก็ไม่ได้รวมเอาแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้ด้วย  (User Application )  แต่โปรโตคอลในชั้นนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแอพพรเคชันของผู้ใช้กับกระบวนการการสื่อสารผ่านเครือข่าย  ชั้นนี้อาจถือได้ว่าเป็นชั้นที่เริ่มการติดต่อสื่อสาร  เช่น  เมื่อผู้ที่ต้องการส่งอีเมล โปรแกรมที่ผู้ใช้ใช้ส่งอีเมลจะทำการติดต่อกับโปรโตคอลในชั้นประยุกต์เพี่อเริ่มกระบวนการทั้งหมด  ตัวอย่งของโปรโตคอลที่ทำงานในเลเยอร์นี้  

2.ชั้นนำเสนอ (Presentation Layer)โปรโตคอลในชั้นนี้จะรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนั้นอาจมีวิธีการเข้ารหัส (Encoding) ที่ต่างกัน  เช่น  คอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจใช้การเข้ารหัสแบบ ASCII (American Code for Information Interchange) หรือบางเครื่องอาจใช้การเข้ารหัสแบบ EBCDIC (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code)ดังนั้นก่อนการส่งข้อมูลโปรโตคอลในเลเยอร์นี้ก็จะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ส่วนทางด้านฝ่ายรับก็จะทำการแปลงเลขทศนิยมที่ต่างกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้  

3.ชั้นเซสชั่น (Session Layer) ชั้นเซสชั่น (Session Layer) ทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารผ่านเครือข่ายที่กำลังเกิดขึ้นทั้งสองฝั่ง  การสื่อสารที่กำลังเป็นไปในช่วงขณะใดขณะหนึ่งจะเรียกว่า เซสชั่น (Session)”  แอพพลิเคชั่นทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับส่งแพ็คเก็ตถึงกันและกันได้ในช่วงเวลาที่เซสชั่นยังอยู่โดยเซสชั่นเลเยอร์จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างเซสชั่น ควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และยกเลิกเซสชั่นเมื่อการสื่อสารสิ้นสุด

4.ชั้นเคลื่อนย้ายข้อมูล (Transport Layer)ชั้นเคลื่อนย้ายข้อมูล หรือทรานสปอร์ตเลเยอร์ (Transport Layer)รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างโพรเซสส์ของผู้รับและโพรเซสส์ของผู้ส่งโดยโพรเซสส์ในที่นี้จะหมายถึงโปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์  ในขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีหลายโพรเซสส์ที่กำลังรันอยู่  ดังนั้นชั้นนี้จะรับผิดชอบในการับส่งข้อมูลให้ถึงโพรเซสส์ที่ต้องการ  หน้าที่อีกอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้คือ  การตรวจเว็คแพ็กเก็ตที่ละทิ้งโดยเราท์เตอร์  และทำการส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง โปรโตคอลในเลเยอร์นี้สามารถให้บริการได้หลายๆ แอพพลิเคชันในเวลาเดียวกัน  เพื่อการกำหนดที่อยู่เพื่อใช้ติดต่อกับแอพพลิเคชันที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง  โดยที่อยู่ในที่นี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า  พอร์ต (Port)” แต่การเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตเรียกว่า ช็อกเก็ต (Socket)” 


5.ชั้นเครือข่าย (Network Layer)ชั้นเครือข่าย (Network Layer) จะรับผิดชอบในการจัดเส้นทางให้กับข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ  ถ้ามีเส้นทางเดียว  เช่น  ถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยตรง  การจัดเส้นทางคงไม่ยากเพราะมีแค่เส้นทางเดียว  แต่ถ้าเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนการจัดเส้นทางก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  ในชั้นนี้จะไม่มีกลไกใดๆ ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลดังนั้นฟังก์ชันนี้จึงเป็นหน้าที่ของชั้นเชื่อมโยงข้อมูล ชั้นเครือข่ายจะรับผิดชอบในการกำหนดเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับคนละ เครือข่าย  การที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีระบบการจัดการที่อยู่ (Addressing)  ที่ไม่ขึ้นอยู่กับที่อยู่ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล

6.ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล  (Data  Link  Layer)เลเยอร์ที่สองของแบบอ้างอิง OST มีชื่อว่าชั้นเชื่อมโยงข้อมูล  ชั้นนี้ก็มีหน้าที่เหมือนกันชั้นอื่น ๆ  คือรับและส่งข้อมูล  ชั้งชั้นนี้จะรับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลและมีการตรวจสอบครามถูกต้องข้อมูลด้วยทางด้านสถานีที่ส่งข้อมูลจะจัดข้อมูลให้เป็นเฟรม (Fram) ซึ่งในเฟรมจะมีข้อมูลที่ทำให้เฟรมสามารถส่งไปยังสถานีรับผ่านเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) อย่างถูกต้องและสำเร็จ  การส่งข้อมูลสำเร็จในที่นี้หมายถึงการที่เฟรมข้อมูลส่งถึงปลายทางที่สถานีส่งต้องการโดยที่เฟรมข้อมูลไม่มีข้อผิดพลาด ดังนั้นในเฟรมต้องมีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของเฟรมข้อมูลนั้นๆ ด้วย การส่งข้อมูลสำเร็จนั้นเหตุการณ์ต่อไปนี้ต้องเกิดขึ้น            
  - สถานีรับ เมื่อได้รับเฟรมแล้วต้องตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลแล้วแจ้งให้สถานีส่งทราบ           
  - สถานีส่ง ต้องได้รับการตอบรับจากสถานีรับว่าได้รับเฟรมข้อมูลถูกต้องแล้ว


7. ชั้นกายภาพ  (Physical  Layer) เลเยอร์ที่อยู่ล่างสุดคือ  ชั้นกายภาพ  (Physical  Layer)  เลเยอร์นี้จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการ่งข้อมูลที่เป็นบิต  หรือ กับ ในระบบเลขฐานสอง (Binasy) ชั้นนี้จะรับข้อมูลจากเลเยอร์ที่ หรือชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link Layer)    ซึ่งข้อมูลชุดหนึ่งจะเรียกว่า  เฟรม  (Fram)”   และทำการส่งเฟรมของข้อมูลนี้ที่ละบิตแบบเรียงตามลำดับ  เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นทางฝั่งสถานีที่ส่งข้อมูล  ส่วนทางฝั่งสถานีรับข้อมูล  ชั้นกายภาพก็จะทำการรับข้อมูลที่ส่งมาทีละบิตและจัดส่งผ่านข้อมูลเป็นบิตนี้ต่อไปยังชั้นเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อทำการโพรเซสส์ต่อไป


ที่มาhttp://www.kruchanpen.com/network/architecture.htm

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ LAN

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ LAN


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN)

ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น - สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป - สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น

- สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
- สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม - สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร


ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) นั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง
วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เครือข่ายแบบ Server-based เครือข่ายแบบ Client/Server

 เปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบ Server based เทียบกับ Peer-to-Peer
ข้อดีของแบบ Server based 
 -มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server
 - การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
 -เร็ว
 -ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ -ระบบรักษาความปลอดภัยดี 
ข้อเสีย
 - เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเครื่อง Server โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นแบบ Dedicated Server ซึ่งไม่สามารถ  นำไปใช้งานอย่างอื่นได้
 - ไม่สามารถใช้งานทรัพยากรที่เชื่อมอยู่กับ Workstation ได้ 
 - ถ้า Server เสียระบบจะหยุดหมด -ติดตั้งยากกว่า 
ข้อดีของแบบ Peer-to-Peer
 - สามารถใช้งานทรัพยากรซึ่งเชื่อมอยู่กับเครื่องใดๆ ในเครือข่าย
 - ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server
 - สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่างๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
 -ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย 
ข้อเสีย
 - การดูแลระบบทำได้ยาก เนื่องจากทรัพยากรกระจัดกระจายกันไปในเครื่องต่างๆ
 - มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบ Server based มาก
 - เครื่องทุกเครื่องต้องมีหน่วยความจำและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง workstaion ในแบบ Server-based
 -ความเร็วไม่สูงเท่าแบบ Server-based
 -ระบบความปลอดภัยไม่ค่อยดี 
ที่มาhttp://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer%2810%29/network/net_lan1.htm


LAN (Local Area Network)

LAN คืออะไร LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค


การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบLAN มี 3 รูปแบบ คือ
 1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และTerminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อน กลับของสัญญาณ
 2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switchโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
 3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่าง การส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน 
ข้อดีของระบบ LAN
 เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต 
ข้อเสียของระบบ LAN
 ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้

ที่มาhttp://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2222lan%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

ประโยชน์ของระบบ LAN

 1. แบ่งการใช้แฟ้มข้อมูล
 2. ปรับปรุงและจักการแฟ้มข้อมูลได้ง่าย
 3. แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
 4. สามารถใช้แฟ้มข้อมูลที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
 5. การแบ่งปันการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม CD-ROM ฯลฯ
 6. การแบ่งปันการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์
 7. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
 8. ควบคุมและดูแลรักษาข้อมูลได้ง่าย
 9. สามารถรวมกลุ่มผู้ใช้ ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
 10. เพื่อการติดต่อสื่อสาร ของผู้ใช้เช่น บริการ Email ,Talk ฯลฯ
 ดังนั้น ระบบ LAN จึงเป็นที่นิยมกันในส่วนของ บริษัท สถานศึกษา และหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ซึ่งจะให้ผลที่คุ้มค่าในระยะยาวนาน

 ผลที่ได้จากการทำงานของระบบ LAN 

1. แบ่งปันการใช้ไฟล์โดยการสามารถใช้ข้อมูลเดียวกันถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆตัวได้ 
2. การโอนย้ายไฟล์ โดยการโอนสำเนาจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนดิสเกตต์ 
3. เข้าถึงข้อมูล และไฟล์ โดยการจะให้ใครก็ได้ ใช้งานซอฟต์แวร์บัญชี หรือ แอปพลิเคชั่นแลน ทำให้คนสองคนใช้โปรแกรมชุดเดียวกันได้ 
4. การป้องกันการป้อนข้อมูลเข้าในแอปพลิเคชั่นพร้อมกัน 
5. แบ่งปันการใช้เครื่องพิมพ์ โดยการใช้แลน เครื่องพิมพ์ก็จะถูกแบ่งปันการใช้ตามสถานีหลาย ๆเครื่องถ้าทั้งหมดที่ต้องการคือ การใช้ Printerร่วมกัน

ในปัจจุบันนี้ ระบบเครือข่ายแลนได้เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตาม office ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อประหยัดในการลงทุนซื้อเครื่องปริ้นเตอร์, ซีดีรอม, โมเด็ม, เครื่องโทรสาร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถแบ่งปันกันใช้ได้ บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบแลน ต่างก็แข่งขันกันในตลาดคอมพิวเตอร์ต่างก็พัฒนาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะรู้จัก และเข้าใจในระบบแลนให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะติดตั้งระบบแลนเองบ้าง เพื่อจะได้คุณภาพ และประสิทธิภาพตามที่เราต้องการ

ที่มาhttp://www.yupparaj.ac.th/CAI/Network/introlan.htm

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า



2. . ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี





3. . ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ตเครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น

ความสำคัญและประโยชน์ของระบบเครือข่าย

ความสำคัญและประโยชน์ของระบบเครือข่าย






ความสำคัญและประโยชน์ของระบบเครือข่าย

การที่ระบบ เครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับการ ใช้งานอย่าง แพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร ์เหล่านั้นถึงกับเพื่อ เพิ่มขีด ความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการ ใช้งาน ด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการ แบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจน สามารถทำงานร่วมกันได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นคือ การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างกัน และ การ เชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการ นำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือกา รนำข้อมูลไป ใช้ประมวล ผลในลักษณะแบ่ งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ด ดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถ จัดหา ให้ทุก คน ได้ การเชื่อม ต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งาน ให้ กว้าง ขวาง และมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อม ต่อระหว่าง เครื่อง ไมโคร คอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้การทำงาน เฉพาะมีขอบเขต กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการ ใช้เครื่องบริการ แฟ้มข้อมูล เป็นที่เก็บรวบ ควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูล กลาง มีหน่วยจัด การระบบสือสารหน่วย บริการ ใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบ สำหรับต่อเข้า ในระบบเครือข่าย เพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึง การให้ อุปกรณ์ทุก ชิ้นที่ต่อ อยู่บน เครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด ในลักษณะที่่ ประสานรวมกัน โดย ผู้ใช้เห็น เสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการ ในการนำเอาอุปกรณ์ต่าง ชนิด จำนวน มาก มารวม กันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์ เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
ที่มาhttp://learn.wattano.ac.th/learning/userchap13

ความสำคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ทำให้เกิดการทำงานในลักษณะกลุ่มในระหว่างเครื่อง และอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
2. เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันขึ้น โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล ชุดคำสั่ง ข่าวสารสารสนเทศต่างๆ ตลอดใช้อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพง ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ สแกนเนอร์ ซีดีรอม โมเด็ม ฯลฯ
3.ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถกำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ให้กับแฟ้มข้อมูลต่างๆ ได้สะดวก
4. สามารถขยายอาณาเขตในการสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างไกลยิ่งขึ้นจากเครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องภายในหน่วยงานหรือบริษัทเล็กๆไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านๆเครื่องทั่วโลกครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศที่รู้จักกันดีคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่มาhttp://blog.eduzones.com/banny/3478

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์




1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
โดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย










2.ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้นซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย










3.ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี

ก่อนที่เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กร
ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
 เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ 
ในการจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่าง
ในองค์กร แต่ปัจจุบันองค์กรสามารถ
กระจายงานต่าง ๆ ให้กับหลาย ๆ 
เครื่อง แล้วทำงานประสานกัน เช่น
 การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบ
งานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่
จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่อง
หนึ่งจัดการกับระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น





4.ใช้โปรแกรมร่วมกัน
ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรม
จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น
 โปรแกรม Word, Excel, Power Point
 ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม
 สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการ
ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยัง
ประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย













5.ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว
เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ

ติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถ
แลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่
คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว















6.เรียกข้อมูลจากบ้านได้

เครือข่ายในปัจจุบันมักจะมีการติดตั้ง
คอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์
 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่าย
จากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้
ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์
เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์
 คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วน
หนึ่งของเครือข่าย











ที่มาhttp://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_network2.htm


นิยามของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

นิยามของเครือข่ายคอมพิเตอร์








นิยามของเครือข่ายคอมพิเตอร์

           นิยามของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีหลากหลายความหมาย โดยผู้จัดทำได้ยกตัวอย่างมา 3              ความหมายคือ

1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ ที่มาhttp://saithammachannetwork.blogspot.com/


2.เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource)ในเครือข่าย ที่มาhttp://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ 

ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/90578